ดูสินค้าทั้งหมด
เมนู สินค้า
ค้นหา
สมาชิก
0
ตะกร้าสินค้า
Notice
  • Login
  • สมัครสมาชิก
  • ลืม password
  • Thai
Kingdose
สถิติเว็บ
วันที่สร้างเว็บ :23/1/2009
ปรับปรุงเว็บล่าสุด :12/6/2019
จำนวนคนเข้าชมเว็บนี้ :1898982
หน้าเวบ
[bioformular] สรรพคุณล้างตับ Bioformular
[bioformular] สรรพคุณล้างตับ Bioformular
0 review(s)
(สรรพคุณ สารสกัด และวิธีการทาน)
[bio25] Bioformular 25 แคปซูล
[bio25] Bioformular 25 แคปซูล
0 review(s)
฿ 1,040
[bio50] Bioformular 25 แคปซูล x2 กระปุก
[bio50] Bioformular 25 แคปซูล x2 กระปุก
0 review(s)
฿ 2,050
[betaglucanplus] สรรพคุณ Betaglucanplus 30 แคปซูล
[betaglucanplus] สรรพคุณ Betaglucanplus 30 แคปซูล
0 review(s)
฿ 1,400
[beta30] เบต้ากลูแคนพลัส บรรจุ 30 แคปซูล
[beta30] เบต้ากลูแคนพลัส บรรจุ 30 แคปซูล
0 review(s)
฿ 1,400
[beta60] เบต้ากลูแคนพลัส บรรจุ 30 แคปซูล x 2 กระปุก
[beta60] เบต้ากลูแคนพลัส บรรจุ 30 แคปซูล x 2 กระปุก
0 review(s)
฿ 2,750
[ไขมันพอกตับ] รีวิวลด กำจัดไขมันพอกตับ ลดอาการจุกอืด
[ไขมันพอกตับ] รีวิวลด "กำจัดไขมันพอกตับ" ลดอาการจุกอืด
0 review(s)
(ผลการทาน ลดอาการมึนงง มื้อเท้าชาอ่อนแรง)
[Pro5150] Set  Big healthy  ชุดใหญ่สำหรับผู้เป็นไวรัสตับอักเสบ มะเร็ง และต้องการดูแลตับไตขั้นสุด พร้อมของแถม 600-.ฟรี
[Pro5150] Set Big healthy ชุดใหญ่สำหรับผู้เป็นไวรัสตับอักเสบ มะเร็ง และต้องการดูแลตับไตขั้นสุด พร้อมของแถม 600-.ฟรี
0 review(s)
฿ 5,150฿ 5,750
[set2700] Set ผู้ป่วยมะเร็ง ความดัน ไขมันเลือดสูง เร่งด่วนทาน 1 เดือนเต็ม
[set2700] Set ผู้ป่วยมะเร็ง ความดัน ไขมันเลือดสูง เร่งด่วนทาน 1 เดือนเต็ม
0 review(s)
฿ 2,700
[set30day] Duo set สุขภาพดีตับไตหัวใจ ไวรัสตับอักเสบ
[set30day] Duo set สุขภาพดีตับไตหัวใจ ไวรัสตับอักเสบ
0 review(s)
฿ 2,600
[ติดเชื้ออักเสบ] รีวิวลด การติดเชื้อ ในกระเพาะปัสสาวะ
[ติดเชื้ออักเสบ] รีวิวลด "การติดเชื้อ" ในกระเพาะปัสสาวะ
0 review(s)
(ผลการทาน ด้านการลดการติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะ)
[bioreview] รีวิวไบโอฟอร์มูล่า ล้างตับ หลับสนิท
[bioreview] รีวิวไบโอฟอร์มูล่า ล้างตับ หลับสนิท
0 review(s)
[เจ็บชายโครงขวา] รีวิวลด ช่วยลดอาการเจ็บชายโครงขวา จากตับมีปัญหา
[เจ็บชายโครงขวา] รีวิวลด "ช่วยลดอาการเจ็บชายโครงขวา" จากตับมีปัญหา
0 review(s)
(ผลการทาน ลดอาการมึนงง มื้อเท้าชาอ่อนแรง)
[มึนหัวมือเท้าชา] รีวิวลด ช่วยลดอาการมึนมือเท้าชา จากตับมีปัญหา
[มึนหัวมือเท้าชา] รีวิวลด "ช่วยลดอาการมึนมือเท้าชา" จากตับมีปัญหา
0 review(s)
(ผลการทาน ลดอาการมึนงง มื้อเท้าชาอ่อนแรง)
[หลับสนิท] รีวิวลด ช่วยการนอนหลับ หลับลึกตื่นสดชื่นใน 1คืน
[หลับสนิท] รีวิวลด "ช่วยการนอนหลับ" หลับลึกตื่นสดชื่นใน 1คืน
0 review(s)
(ผลการทาน ด้านการนอนหลับดีขึ้นตื่นสดชื่นมาก)
[ตับอักเสบ] รีวิวลด ค่าตับอักเสบ sgot sgpt Alkaline phosphatase
[ตับอักเสบ] รีวิวลด "ค่าตับอักเสบ" sgot sgpt Alkaline phosphatase
0 review(s)
(ผลการทาน ด้านการลดการอักเสบของตับ)

โรคงูสวัดคืออะไร อันตรายถึงชีวิตไหม เรื่องใหญ่ที่ต้องรู้

 รายละเอียดบทความ  วันที่โพส : 11/7/2018  จำนวนคนเข้าชม : 467


 

โรคงูสวัด 

เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อ Varicella zoster virus หรือเรียกย่อ ๆ ว่า VZV เป็นโรคที่สามารถพบได้ในประเทศไทย โดยเชื้อโรคชนิดนี้จะก่อให้เกิดโรค 2 โรค คือ โรคอีสุกอีใสและโรคงูสวัด

โดยทั่วไป หลังจากที่เราเป็นโรคอีสุกอีใสแล้ว เชื้อไวรัส VZV จะซ่อนตัวอยู่ตามประสาทใต้ผิวหนัง และการแฝงตัวอยู่นี้อาจจะไม่มีอาการใด ๆ เลย เป็นเวลายาวนานถึง 10 ปี จนกว่าร่างกายจะเริ่มอ่อนแอ มีภูมิคุ้มกันต่ำ สิ่งที่ทำให้เกิดโรค เช่น การนอนไม่พอ อายุที่มากขึ้น ภาวะความเครียด และการติดเชื้อเอชไอวี สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยบั่นทอนภูมิคุ้มกันของร่างกาย และทำให้ร่างกายอ่อนแอ เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย อีกทั้งเชื้อที่แฝงตัวอยู่ตามประสาทก็จะเกิดการแบ่งตัว และเพิ่มจำนวนกระจายอยู่ตามปมประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ บวม และเป็นตุ่มใส เรียงเป็นแนวตามเส้นประสาท ก่อให้เกิดความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

โรคงูสวัดจะเป็นในช่วงที่ร่างกายอ่อนเพลีย

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า เริ่มแรกนั้นเมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัส VZV จะทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสก่อน หลังจากนั้นเมื่อรักษาหายแล้ว เชื้อไวรัสจะคงอยู่ในร่างกายอีกเป็นเวลาหลายปี โดยการหลบซ่อนตัวอยู่ตามปมประสาทของร่างกายแล้วจะเกิดการแบ่งตัวโดยการกำเริบในครั้งที่สองนี้ เราเรียกว่างูสวัด เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะอ่อนแอหรืออดหลับอดนอน เป็นผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง ดังนั้นวิธีการป้องกันการกำเริบของงูสวัดที่ดีที่สุดก็คือ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และการผ่อนคลายความเครียด เพื่อส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง เมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง เชื้อไวรัสก็ไม่สามารถแบ่งตัวได้ โรคงูสวัดจึงแสดงอาการไม่ได้

สาเหตุของโรคงูสวัด

โรคงูสวัดเกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella-zoster virus) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเชื้อไวรัสเฮอร์ปิส (Herpes virus) โดยกลุ่มเชื้อไวรัสเฮอร์ปิสนี้ยังทำให้เกิดโรคเริมบริเวณริมฝีปาก และโรคเริมบริเวณอวัยวะเพศอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคงูสวัดและโรคอีสุกอีใสไม่ได้เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคเริมบริเวณริมฝีปาก (Herpes simplex virus ชนิดที่ 1) และโรคเริมบริเวณอวัยวะเพศ (Herpes simplex virus ชนิดที่ 2)

ไม่ว่าใครก็ตามที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสแล้วจะสามารถเป็นโรคงูสวัดได้ทุกคน แม้ว่าจะเป็นเด็กก็ตาม เนื่องจากเมื่อเป็นโรคอีสุกอีใสแล้วเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์จะเข้าไปหลบอยู่ในเนื้อเยื่อประสาทบริเวณไขสันหลังและสมอง เมื่อเชื้อไวรัสถูกกระตุ้นอีกครั้งก็จะเคลื่อนที่ไปตามเส้นประสาทสู่ผิวหนังทำให้เกิดโรคงูสวัด โดยส่วนมากคนที่เคยเป็นโรคงูสวัดแล้วจะไม่เป็นซ้ำอีก แต่ในบางคนก็อาจจะเป็นโรคงูสวัดซ้ำใหม่ในรอบที่ 2 และ 3 ได้

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคงูสวัด

โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคงูสวัดนั้นเพิ่มตามจำนวนอายุที่มากขึ้น เนื่องจากเมื่ออายุมาก ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะต่ำลง  คนที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัดมากกว่าคนอื่น ได้แก่

  • คนที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น จากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) หรือจากโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV/AIDS)
  • คนที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกันอยู่ เช่น สเตียรอยด์ (Steroid) หรือยาอื่น ๆ ที่ได้หลังจากการปลูกถ่ายอวัยวะ (Organ transplant)

อาการของโรคงูสวัด

ในตอนแรกของการรับเชื้อไวรัสเข้ามาในร่างกาย มักจะมีอาการไข้ ตัวร้อนก่อนประมาณ 2 – 3 วัน แล้วจึงเริ่มมีตุ่มน้ำใส ๆ รูปร่างของตุ่มนั้นจะใสเหมือนกับหยดน้ำ ขึ้นกระจายอยู่ทั่วตัว และขึ้นเป็นรุ่น ๆ เป็นระลอก ซึ่งตุ่มเหล่านี้จะมีทั้งตุ่มสุก ตุ่มใส กระจายอยู่ทั่วร่างกาย โดยชาวบ้านจะเรียกติดปากว่าเป็นโรคอีสุกอีใส ตามลักษณะอาการของโรคที่มีตุ่มน้ำกระจายอยู่ทั่วตัว แต่ในปัจจุบันบางคนมีความเห็นว่า คำว่า “อี” เป็นคำไม่สุภาพ จึงได้เปลี่ยนชื่อโรคเหลือแค่ “โรคสุกใส”

เนื่องจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัส VZV เป็นครั้งแรกทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส ซึ่งจะพบบ่อยในเด็ก และเป็นโรคที่สามารถหายเองได้ภายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ เมื่อหายจากโรคนี้แล้ว เชื้อไวรัส VZV ก็ยังหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกายได้เป็นระยะเวลานานโดยไม่แสดงอาการใด ๆ ทั้งสิ้น โดยอาการของโรคจะแสดงผลก็ต่อเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะที่อ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง หรือเกิดจากการใช้ร่างกายมากเกินไป เช่น การอดหลับอดนอน ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัส และโดยส่วนใหญ่แล้วอาจจะใช้เวลานานถึง 10 ปี หลังจากที่เริ่มเป็นโรคอีสุกอีใสแล้ว และที่พบบ่อย ได้แก่ ผู้สูงอายุ เพราะอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง เอื้อต่อการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส

ในช่วงเวลาที่ร่างกายอ่อนเพลีย จะเกิดการแบ่งตัวของไวรัส VZV  ซึ่งซ่อนตัวอยู่ในปมประสาทในร่างกาย และยังเป็นเชื้อไวรัสตัวเดียวกับที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส เพียงแต่ครั้งแรกทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส หากกำเริบเป็นครั้งที่สอง เรียกว่า โรคงูสวัด การใช้ยารักษาก็เป็นรูปแบบเดียวกันกับการรักษาโรคอีสุกอีใส

โดยปกติอาการของโรคงูสวัดจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังต่อไปนี้

ระยะเริ่มต้น

ระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนโดยไม่ทราบสาเหตุ เพราะว่าในช่วงนี้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงแล้ว ทำให้เชื้อไวรัสสามารถเพิ่มจำนวนขึ้นได้อย่างง่ายดาย เกิดการติดเชื้อที่ระบบปมประสาท ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนอยู่ลึก ๆ ภายในระบบเส้นประสาท

งูสวัด 

ระยะที่สอง

หลังจากที่เริ่มมีอาการปวดแสบปวดร้อนเป็นเวลา 2-3 วันแล้ว อาการของโรคก็จะเข้าสู่ระยะที่สอง โดยจะเริ่มมีผื่นแดง แล้วต่อมาก็จะเริ่มเป็นตุ่มน้ำใส เหมือนกับหยดน้ำที่เกาะอยู่ตามใบหญ้าในตอนเช้า เรียงตัวกันเป็นกลุ่มเป็นแนวยาวตามเส้นประสาทของร่างกาย กระจายตัวกันเป็นหย่อม ๆ เช่น ตามความยาวของแขนหรือขา และพบบ่อยในบริเวณรอบเอว รอบหลัง หรือแม้แต่รอบศีรษะ เป็นต้น ตุ่มน้ำใสนี้จะแตกออกมาเป็นแผลแล้วตกสะเก็ด และสามารถหายไปได้เองภายในเวลา 2 สัปดาห์

ระยะที่สาม

เมื่อตุ่มแตกและแผลหายดีแล้ว ผู้ป่วยบางคนยังรู้สึกปวดแสบปวดร้อนอยู่ลึก ๆ โดยเฉพาะตามรอยแนวของโรคที่เกิดขึ้น ซึ่งอาการของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน บางคนอาจรู้สึกปวดแสบปวดร้อนได้เป็นเดือนหรือมากกว่านั้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ อาจจะมีอาการหลังจากแผลหายแล้วเป็นปี

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคงูสวัด

การรักษาโรคงูสวัดจำเป็นต้องทำอย่างถูกวิธี และผู้ป่วยจะต้องดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด เพราะนอกจากอาการหลัก ๆ ที่เราพบได้แล้ว อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายดังต่อไปนี้

  1. รู้สึกปวดตามแนวเส้นประสาท ซึ่งพบได้บ่อยภายหลังการติดเชื้อ อาการปวดอาจจะคงอยู่นานหลายปีหรืออาจปวดตลอดชีวิต แม้ตัวโรคจะจางไปแล้วก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนชนิดนี้มักจะพบในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปเสียส่วนใหญ่ ไม่ได้เป็นอาการที่รุนแรง แต่กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
  2. มีการติดเชื้อแบคทีเรียเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้เกิดการอักเสบในเนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น ตาอักเสบ มีแผลที่กระจกตา เป็นต้น            
  3. โรคงูสวัดจะรุนแรงมากขึ้น หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำอยู่แล้ว เช่น ผู้ป่วยที่มีเชื้อ HIV หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ในช่วงที่กำลังรับเคมีบำบัด หากเกิดโรคงูสวัดขึ้นมาในระยะเวลาดังกล่าว จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ปอดและสมองอักเสบ เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้สูง
  4. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของผู้ป่วยเอง การติดเชื้อแบคทีเรียแบบซ้ำซ้อนเนื่องจากใช้เล็บแกะเกาบริเวณที่เป็นตุ่มผื่น ซึ่งทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายตัวได้มากขึ้น แผลหายช้า และอาจทำให้เกิดการลุกลามในพื้นผิวข้างเคียง
  5. ผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัด เสี่ยงที่จะทำให้เกิดอัมพาตบริเวณใบหน้า หากเชื้อเกิดขึ้นบริเวณหูด้านนอกที่สามารถลุกลามเข้าไปยังแก้วหูชั้นในได้ จะมีอาการเม้มปากไม่สนิทครึ่งซีกและไม่สามารถหลับตาได้สนิท
  6. คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกเหมือนบ้านหมุน จนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
  7. ในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นงูสวัด เชื้อโรคจะแพร่กระจายเข้าสู่ทารกได้ ทำให้การเจริญเติบโตผิดปกติ ทารกที่คลอดออกมาอาจพิการหรือปัญญาอ่อนได้

การวินิจฉัย

วิธีวินิจฉัยอาการงูสวัด แท้จริงแล้วผู้ป่วยสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ หากคุณรู้สึกว่ามีผื่นขึ้นจากซีกใดซีกหนึ่ง และมีอาการปวดแสบปวดร้อนที่บริเวณผื่นนั้น ๆ ย่อมบ่งบอกถึงโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นงูสวัดได้ค่อนข้างสูง หลังจากนั้นควรเข้าพบแพทย์ทำการวินิจฉัยอย่างละเอียด โดยแพทย์จะซักถามประวัติว่าผู้ป่วยเคยมีอาการของโรคอีสุกอีใสมาก่อนหรือไม่ และเคยเป็นในช่วงอายุเท่าไร จากนั้นจะเริ่มตรวจดูอาการของผื่นและตุ่มน้ำ โดยจะนำตุ่มน้ำเข้าตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อหาสาเหตุและจ่ายยารักษาให้ถูกต้องต่อไป

เป็นงูสวัดพันรอบเอวจะตายไหม ?

เป็นความเชื่ออย่างหนึ่งที่ถูกเล่าต่อกันมาหลายยุค แต่ความจริงแล้ว เนื่องจากโรคงูสวัดจะเป็นตุ่มน้ำใสเต่ง ๆ เรียงตัวกันเป็นแนวยาวเต็มเส้นประสาทเพียงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเท่านั้น เนื่องจากยังไม่เคยพบว่ามีผู้ป่วยเคยเป็นงูสวัดทั้งสองด้านของร่างกายมาก่อน แต่โดยปกติจะเกิดจากการที่ผู้ป่วยอ่อนแอมาก ๆ หรือภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ เมื่ออาการของงูสวัดกำเริบจะเกิดการลุกลามได้มากกว่าปกติ และเป็นสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิต

แต่โดยปกติแล้วผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดจะสามารถหายเองได้ เพราะว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเริ่มทำงานเมื่อมีเชื้อโรคเข้าสู่ภายในร่างกาย ก็จะเริ่มกำจัดเชื้อไวรัสทิ้ง จึงไม่มีข้อมูลใด ๆ ที่เคยพบว่ามีผู้เป็นงูสวัดทั้งสองด้านของร่างกายหรืองูสวัดพันรอบเอว ดังนั้นความเชื่อที่บอกว่าถ้าเป็นงูสวัดพันรอบเอวแล้วตาย จึงไม่เป็นความจริง เป็นเพียงแต่ความเชื่อ

โรคงูสวัดติดต่อได้หรือไม่ ?

โรคงูสวัดเป็นโรคที่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่เชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์สามารถติดต่อไปสู่คนที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคอีสุกอีใสได้ เช่น คนที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน หรือยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีกสุกอีใสมาก่อน โดยติดต่อผ่านการสัมผัสผื่น แผล ในขณะที่มีตุ่มพุพองของโรค และหลังจากได้รับเชื้อมาแล้วก็จะเกิดเป็นโรคอีสุกอีใส แต่ไม่เกิดเป็นโรคงูสวัด

เมื่อผื่นโรคงูสวัดถูกปิดไว้ ความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสก็จะน้อยลง อย่างไรก็ตาม โรคอีสุกอีใสนั้นอันตรายต่อกลุ่มคนบางกลุ่ม เช่น ทารกแรกเกิด หญิงตั้งครรภ์ และใครก็ตามที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เพราะฉะนั้นหากป่วยเป็นโรคงูสวัดอยู่ ก็ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับกลุ่มคนดังกล่าวจนกว่าผื่นตุ่มพุพองนั้นจะตกสะเก็ดจนหมด

วิธีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัส ได้แก่

  • ปกปิดรอยผื่น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือเกาผื่น
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ

โรคงูสวัดในหญิงตั้งครรภ์

โรคงูสวัดเป็นโรคที่พบได้ยากในหญิงตั้งครรภ์ แต่หากหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคงูสวัดแล้ว ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากก็มีความเห็นว่า โรคงูสวัดนั้นไม่ได้เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่อย่างไรก็ตามหากหญิงตั้งครรภ์คนนั้นยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน ก็อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นภาวะปอดอักเสบ (Varicella pneumonia) ได้ร้อยละ 10-20 ซึ่งภาวะปอดอักเสบนี้เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึงร้อยละ 40 ของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคงูสวัด จากการรายงานของสำนักงานสาธารณสุขแห่งมลรัฐมิสซูรี่ (Missouri Department of Health and Senior Services)

หากหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคอีสุกอีใสในครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ก็มีโอกาสทำให้ทารกมีความพิการแต่กำเนิดหรือแท้งบุตรได้ร้อยละ 0.4-2 หากหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคอีสุกอีใสในครึ่งที่สองของการตั้งครรภ์ ทารกที่เกิดมาก็อาจติดเชื้อไวรัสนั้นได้โดยที่ไม่มีอาการใด ๆ เลย และเมื่อโตขึ้นก็อาจเกิดโรคงูสวัดได้

หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อไวรัสอาจได้รับการฉีดอิมมิวโนโกลบูลินที่ชื่อ Varicella-zoster immune globulin (VZIG) ซึ่งเป็นการฉีดภูมิคุ้มกันเข้าไปโดยตรง เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อีกทั้งทารกแรกเกิดที่มารดามีผื่นขึ้น 5 วันก่อนคลอดจนถึง 2 วันหลังคลอด ทารกเหล่านั้นควรจะได้รับการฉีดอิมมิวโนโกลบูลิน (VZIG) เพื่อป้องกันการติดเชื้อวาริเซลลาในทารกแรกเกิด (Neonatal varicella) ซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 30

วิธีรักษาโรคงูสวัด

วิธีรักษางูสวัด สามารถให้ยาเพื่อรักษาตามอาการและใช้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันไม่ให้อาการลุกลามหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ สำหรับผู้ที่มีอาการปวด แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวด ยากลุ่มลดอาการอักเสบ และยาทาบางชนิดที่ช่วยลดอาการผื่นคันร่วมด้วย แต่หากพบว่าแผลหายแล้ว แต่อาการปวดยังคงอยู่ เป็นไปได้ว่าจะต้องรักษาอาการปวดของปมประสาท ซึ่งจะต้องรักษาโดยแพทย์เกี่ยวกับระบบประสาทเท่านั้น รวมไปถึงป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการโรคงูสวัดขึ้นตา ควรรักษากับจักษุแพทย์โดยตรง ซึ่งแพทย์จะใช้ยาต้านไวรัสชนิดรับประทานและหยอดตาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV โรคเอดส์ หรือโรคชนิดที่สามารถแพร่กระจายไปทั้งตัวได้ แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ และต้องเข้ารับการรักษาตัวภายในโรงพยาบาลจนกว่าจะหายเป็นปกติ ซึ่งการรักษาโรคงูสวัดนั้นอาจจะมีระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละกรณี ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับรับประทานยาและใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด หากทำได้เช่นนี้จะทำให้อาการของโรคงูสวัดดีขึ้นจนเป็นปกติอย่างแน่นอน

ยารักษาโรคงูสวัด

ในปัจจุบันมียาที่ใช้ต้านเชื้อไวรัสอยู่ชื่อว่า อะซัยโคลเวีย ซึ่งใช้กันมาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปีแล้ว และเป็นยาที่ใช้ในการรักษาแล้วได้ผลดี โดยยาชนิดนี้ได้รับการยืนยันจากวงการแพทย์แล้วว่ามีคุณสมบัติในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส VZV จึงทำให้การรักษาได้ผลดีทั้งการรักษาโรคอีสุกอีใสและงูสวัด และยังใช้รักษาโรคเริมได้ มีทั้งยาเม็ด ยาแคปซูล ยาทา ยาฉีด สามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวก และอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

Acyclovir 

ยาชนิดนี้มีความพิเศษกว่ายาอื่นในแง่ของวิธีการใช้ กล่าวคือ ยาชนิดนี้จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อย และมีระยะเวลาในการออกฤทธิ์ในช่วงเวลาสั้น ๆ จึงต้องใช้ถี่กว่ายาทั่วไป ขนาดของการใช้ยานั้น สำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นโรคงูสวัดและอีสุกอีใส ควรได้รับยาเม็ดในขนาด 800 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 5 ครั้ง ทุก 4 ชั่วโมง ยกเว้นตอนกลางคืน และสิ่งที่สำคัญคือการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งระยะเวลาที่เหมาะสมคือรับประทานติดต่อกัน ประมาณ 7 – 10 วัน

เนื่องจากยารักษาโรคงูสวัดนั้นมีให้เลือกใช้หลากหลายแบบ ในกรณีของผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจจะใช้วิธีการฉีดตัวยาเข้าสู่หลอดเลือดดำโดยตรง โดยขนาดยาที่เหมาะสม คือ ครั้งละ 500 มิลลิกรัม ฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำวันละ 5 ครั้ง และใช้ติดต่อกันนาน 7 – 10 วัน

ส่วนยาอะซัยโคลเวียชนิดทาภายนอกนั้น มักจะใช้ไม่ค่อยได้ผลในการรักษาโรคอีสุกอีใสกับโรคงูสวัด ส่วนมากจะใช้ได้ผลดีกับโรคเริมมากกว่า นอกจากนี้ยังมียาอีก 2 ชนิด คือ วาลาซิโคลเวียและแฟมซิโคลเวีย ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกับยาอะซัยโคลเวียทุกอย่าง แต่มีข้อดีกว่าคือ รับประทานแค่วันละ 3 ครั้งเท่านั้น ซึ่งสะดวกกับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เพราะยาอะซัยโคลเวียต้องรับประทานถึงวันละ 5 ครั้ง

ถึงแม้ว่าตัวยาทั้งสองตัว คือ วาลาซิโคลเวียและแฟมซิโคลเวีย ยังมีราคาสูงอยู่ในปัจจุบัน เพราะยังติดในเรื่องของสิทธิบัตรอยู่ ซึ่งผลิตได้เฉพาะรายที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น แตกต่างจากยาอะซัยโคลเวีย เนื่องจากไม่มีปัญหาในเรื่องของสิทธิบัตรเพราะหมดสิทธิบัตรไปนานแล้ว ทำให้มีผู้ผลิตจำนวนมากที่ผลิตยาอะซัยโคลเวียออกสู่ตลาด จึงทำให้ยาชนิดนี้มีราคาถูกลงกว่าเดิมมาก และที่สำคัญก็ให้ผลในการรักษาได้ดีเหมือนกับการรักษาโดยใช้ยา 2 ตัวดังกล่าว

ในการรักษานั้น ควรใช้ยาอะซัยโคลเวียให้เร็วที่สุด เนื่องจากคุณสมบัติหลักของยาตัวนี้ก็คือ ลดการเพิ่มตัวของจำนวนเชื้อไวรัส มันจึงให้ผลดีมากในการกำจัดเชื้อไวรัสที่กำลังเพิ่มจำนวนอยู่ คือตั้งแต่เริ่มมีอาการปวดแสบปวดร้อนในระยะแรก ซึ่งเป็นระยะเริ่มต้นที่ยังไม่มีตุ่มน้ำใสเกิดขึ้น แต่เป็นช่วงที่เชื้อไวรัสกำลังเพิ่มจำนวนอยู่ในปมประสาท และช่วงเวลาของการใช้ยาที่ได้ผลดีคือใช้หลังจากพบตุ่มน้ำใสไม่เกิน 2-3 วัน

ข้อดีของการใช้ยาอะซัยโคลเวียร์ให้เร็วที่สุด โดยการใช้ยาเพียงแค่ 1 – 2 วัน ทานวันละ 5 ครั้ง ทุก 4 ชั่วโมง ก็จะช่วยให้ตุ่มใสที่เกิดขึ้นหยุดการลุกลาม และทำให้ตุ่มใสที่เกิดขึ้นแล้วเหี่ยวลง ไม่เต่งตึงเหมือนเดิม เมื่อใช่ต่อไปอีก 4 – 5 วัน ตุ่มก็จะเริ่มตกสะเก็ด และหายเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว

วัคซีนโรคงูสวัด

การฉีดวัคซีนโรคงูสวัดเป็นทางเดียวที่จะลดโอกาสเป็นโรคงูสวัดและลดภาวะแทรกซ้อนเมื่อเป็นโรคงูสวัด

ในปี ค.ศ. 2011 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้อนุญาตให้ใช้วัคซีน VZV และ Zostavax (ซอสทาแวกซ์) ในคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไปได้ โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกาได้แนะนำว่าผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไปควรได้วัคซีนโรคงูสวัดอย่างน้อย 1 เข็ม แต่แพทย์บางท่านพบว่าการฉีดวัคซีน Zostavax เหมาะสำหรับคนอายุ 50-59 ปี ดังนั้นควรปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์ก่อนตัดสินใจฉีดวัคซีนโรคงูสวัด

ผลของวัคซีน

นักวิจัยพบว่าการฉีดวัคซีน VZV ในผู้สูงอายุจะลดจำนวนผู้ป่วยโรคงูสวัดรายใหม่ได้ครึ่งหนึ่ง และยังช่วยลดความรุนแรงและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคงูสวัดได้อย่างมากในผู้ป่วยโรคงูสวัดที่ได้รับวัคซีน

การรักษาโรคงูสวัดด้วยตนเอง

การอาบน้ำเย็นร่วมกับใช้ครีมอาบน้ำที่มีส่วนผสมของข้าวโอ๊ตหรือทาโลชั่นคาลาไมน์ ใช้ปิโตรเลียมเจลลี่ หรือประคบเย็นที่ตุ่มน้ำงูสวัดจะช่วยลดอาการคันและอาการปวดได้ นอกจากนี้ยังมียาแผนปัจจุบันที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา เช่น

  • ครีมที่มีส่วนผสมของสาร Capsaicin (แคปไซซิน) หรือ Menthol (เมนทอล)
  • ยากลุ่ม Antihistamine (ยาแก้แพ้) เช่น Diphenhydramine (ไดเฟนไฮดรามีน) Benadryl (บีนาดริล) หรือ Chlorpheniramine (คลอเฟนนิรามีน) Chlor-Trimeton (คลอไตรมีตอน)
  • Hydrocortisone cream (ครีมไฮโดรคอร์ติโซน)
  • ยากลุ่ม NSAIDs (ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์) เช่น ยา Aspirin (แอสไพริน) หรือยา Ibuprofen (ไอบูโพรเฟน) Advil, Motrin (แอดวิลหรือมอททริน) หรือยา Naproxen (นาพร็อกเซน) Aleve (เอลีฟ)

นอกจากนี้ยังสามารถบรรเทาอาการได้โดยการอาบน้ำเย็น หลีกเลี่ยงแสงแดด และลดการเกา

การทบทวนคร่าว ๆ เรื่องวัคซีนป้องกันอีสุกอีใสและงูสวัด

ท่ามกลางความเชื่อต่อต้านวัคซีนและทฤษฎีสมคบคิด หนึ่งในสิ่งที่เชื่อกันมากที่สุดคือวัคซีนป้องกันอีสุกอีใสเป็นสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของผู้เป็นงูสวัด ทำไมล่ะ ?

บางทีอาจเป็นเพราะว่ามีเด็กที่เป็นอีสุกอีใสน้อยกว่าที่จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนอีสุกอีใส ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการกระตุ้นซ้ำและการพัฒนาไปเป็นงูสวัด นี่เป็นเพียงหนึ่งในเหตุผลที่บางประเทศไม่ได้จัดให้วัคซีนอีสุกอีใสอยู่ในโปรแกรมการให้วัคซีนหลักสำหรับเด็ก  อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวมีการแสดงให้เห็นว่าไม่จริง

งูสวัดและอีสุกอีใส

เพื่อเตือนความจำของคุณ หากคุณติดอีสุกอีใสเองตามธรรมชาติ ไวรัสอีสุกอีใสจะยังคงอยู่ในร่างกายของคุณในรูปที่ยังไม่ถูกกระตุ้น เมื่อถึงเวลาหนึ่งก็อาจถูกกระตุ้นได้ และกลายเป็นงูสวัด นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจึงสามารถเป็นอีสุกอีใสได้หากสัมผัสกับผู้ที่เป็นงูสวัด

แน่นอนว่าคุณไม่สามารถติดงูสวัดได้ คุณจะเป็นงูสวัดได้หากคุณเคยได้รับวัคซีนป้องกันอีสุกอีใส ถึงแม้ว่าคุณจะยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใสด้วยการติดเชื้อเองเลยก็ตาม นั่นเป็นเพราะว่าวัคซีนอีสุกอีใสเป็นวัคซีนชนิดเชื้ออ่อนฤทธิ์ (live virus vaccine)  ความเสี่ยงในการเป็นงูสวัดหลังได้รับวัคซีนจะน้อยกว่าหากเทียบกับการติดเชื้อตามธรรมชาติ ซึ่งนี่เป็นประโยชน์อีกอย่างของการได้รับวัคซีน

ดังนั้น นอกเหนือจากการป้องกันไม่ให้เด็กเป็นอีสุกอีใส ที่จริงแล้ว ดูเหมือนว่าวัคซีนป้องกันอีสุกอีใสยังลดความเสี่ยงต่อการเป็นงูสวัดในเวลาต่อมาด้วย

การดูแลแผลของงูสวัด

มีหลักการดูแลแผลเปิดที่เกิดจากตุ่มที่แตกแล้ว ก็ใช้วิธีของการรักษาแผลโดยทั่วไป คือการรักษาความสะอาด ล้างแผล ทำความสะอาดแผล เพื่อทำให้แผลปราศจากเชื้อแบคทีเรีย ในบางรายอาจมีการพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะคล็อกซาซิวลินร่วมด้วย ช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรีย และทำให้แผลหายได้เร็วยิ่งขึ้น

วิธีป้องกันโรคงูสวัด

ปัจจุบันเราอาจจะเห็นผู้ป่วยเป็นโรคงูสวัดน้อยลง เนื่องจากมีวัคซีนที่ช่วยป้องกันโรคงูสวัดได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เราควรดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ และหากพบว่าตนเองมีอาการอีสุกอีใสหรือพบผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเป็นโรคอีสุกอีใส ก็ควรอยู่ให้ห่างเพื่อป้องกันการติดเชื้อให้มากที่สุด ซึ่งถือเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเกิดการแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายจนไปกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคงูสวัด และหากพบว่าคนในครอบครัวมีอาการคล้ายกับงูสวัด เช่น เป็นผื่น ปวดแสบปวดร้อน และมีอาการไข้ร่วมด้วย ควรพาไปพบแพทย์จะดีที่สุด เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาอาการไม่ให้ลุกลามจนเกินไป ดีกว่าที่จะต้องมากังวลเมื่ออาการของโรคงูสวัดได้แพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมากไปแล้ว

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นงูสวัด

  • ใช้น้ำเกลือประคบแผลนานครั้งละประมาณ 10 นาที โดยประคบวันละ 3-4 ครั้ง ซึ่งการประคบด้วยน้ำเกลือจะทำให้แผลแห้งได้เร็วยิ่งขึ้น
  • ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแบบแทรกซ้อน อาจจะต้องได้รับยาปฏิชีวนะชนิดทาหรือรับประทานมาใช้ร่วมด้วย
  • หากเกิดอาการคัน ให้ทายาคาลามายด์เพื่อบรรเทาอาการ แต่หากคันมากอาจจะต้องรับประทานยาแก้คันร่วมด้วย ซึ่งการใช้ยาดังกล่าวจะต้องผ่านการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรแล้วเท่านั้น
  • ไม่ควรใช้ยาพ่นหรือใช้ยาสมุนไพรทาลงไปบนจุดที่มีแผลโดยตรง เพราะอาจจะก่อให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียจนส่งผลทำให้แผลหายช้า และยังอาจก่อให้เกิดแผลเป็นได้อีกด้วย
  • หากผู้ป่วยมีอาการปากเปื่อยลิ้นเปื่อย แนะนำให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลือจะช่วยให้อาการดีขึ้น
  • ควรอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียแบบซ้ำซ้อน และควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าแบบหลวม ๆ ไม่รัดแน่นจนก่อให้เกิดการเสียดสีกับผิว
  • ไม่ควรแกะหรือเกาแผลที่เป็นงูสวัดอย่างเด็ดขาด

แม้ว่าโรคงูสวัดอาจจะดูไม่ร้ายแรงเท่าใดนัก แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัดถึง 20% ที่เสียชีวิต เนื่องจากไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง จนก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือลุกลามบานปลายจนเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้น คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการรักษาจากทางการแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด เพียงเท่านี้ก็มั่นใจได้ว่าอาการป่วยต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน

คำถามจากผู้ป่วยท่านอื่นเกี่ยวกับโรคงูสวัด

เป็นอีสุกอีใสพร้อมงูสวัด (ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครเป็นพร้อมกัน) แปลกหรือไม่

คำตอบ: สามารถเกิดได้ เนื่องจากการเป็นโรคงูสวัดแล้วหายไป แต่เชื้อที่มียังไม่หาย เชื้อเหล่านี้จะเข้าไปแอบแฝงบริเวณปมประสาท รอว่าเมื่อไรที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ อย่างเช่น อีสุกอีใส ก็จะกลับมาเป็นได้อีกครั้ง - ตอบโดย Nawaporn Le. (Dr.)

คำตอบ 2: ไม่แปลกเท่าไร เพราะโรคทั้งสองนี้จะเกิดต่อเมื่อภูมิคุ้มกันร่างกายเราอ่อนแรงลง จึงมีโอกาสเกิดโรคได้ - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

ทำไมคนที่เคยเป็นอีสุกอีใสจะเป็นโรคงูสวัด

คำตอบ: คนที่เป็นอีสุกอีใสแล้ว เชื้อ Varicella zoster virus นั้นจะเข้าไปหลบอยู่ในเนื้อเยื่อประสาทบริเวณไขสันหลังและสมอง เมื่อเชื้อไวรัสถูกกระตุ้นอีกครั้ง เชื้อไวรัสนั้นก็จะเคลื่อนที่ไปตามเส้นประสาทสู่ผิวหนังทำให้เกิดโรคงูสวัดได้ ตอบโดย - นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

ผมคิดว่าผมนอนทับตัวแมลงด้วงก้นกระดกที่กลางหลังด้านซ้าย มีผื่นที่กลางหลังด้านซ้ายและที่หน้าท้องด้านซ้าย ก่อนที่จะมีผื่นผมไม่มีอาการไข้ ไม่มีอาการกระตุกที่ผิวหนังมาก่อน ผมเป็นมาได้ 7 วันแล้ว ขณะนี้มีตุ่มน้ำใส ๆ บริเวณผื่นทั้งหมด มีอาการปวดแสบอักเสพบ้าง แต่ไม่มีอาการปวดกระตุก ผมเป็นงูสวัดหรือเป็นเพราะพิษของตัวแมลงก้นกระดก

คำตอบ: สองอย่างนี้อาจจะมีลักษณะคล้ายกัน แต่งูสวัดมักจะขึ้นตามปมประสาท ส่วนแมลงก้นกระดกอยู่ที่ไหนก็ได้ จำเป็นต้องเห็นลักษณะแผลถึงจะแยกออก แต่อย่างไรก็ตาม ให้ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือที่สะอาด หากมีหนองหรือมีการติดเชื้อต้องได้รับยาต้านจุลชีพร่วมด้วย - ตอบโดย ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)

เครดิตข้อมูล : https://www.honestdocs.co/shingles-and-its-effect  

  • หากต้องการความสะดวกยิ่งขึ้น ด้วยการทานสารเพิ่มประสิทธิภาพควบคุมไวรัสที่ทำให้เป็นงูสวัด 
  • แนะนำ NKC beta  สนใจปรึกษาสอบถามอาการผ่าน ช่องทาง Line : kingdoseshop
ถูกใจบทความนี้ ช่วยกดไลค์หรือแชร์กันหน่อยนะ...
เรื่องน่าสนใจอื่น ๆ
6/10/2018    view time : 2
มาดูประโยชน์หลักของ L-cysteine แบบไม่หว่านแห แต่เน้นเรื่องตับโดยตรง ว่าทำไมเราจึงควรทาน Bioformular ซึ่งมีสารสกัดดีๆถึง 4 ชนิด
ช่วยเหลือตับตัวเองได้ด้วยวิธีง่ายๆสั้นๆต่อไปนี้
ช่วยเหลือตับตัวเองได้ด้วยวิธีง่ายๆสั้นๆต่อไปนี้
11/2/2018    view time : 441
ตับทำงานหนักเพราะกินบ่อย กินผิดเวลา และอารมณ์โกรธ โมโห อิจฉา เครียด เซลล์ตับจะขอลาโลกไปทีละเซลล์ จนหลักหลายพันหมื่นเซลล์ ถึงเวลานี้เลิกเกลียดกันได้แล้ว ชีวิตนี้สั้นนัก
การนอนหลับที่ดีทำอย่างไร???
การนอนหลับที่ดีทำอย่างไร???
1/7/2017    view time : 365
บางครั้งการนอนไม่หลับสามารถช่วยได้จากการให้ความรู้และข้อมูล บางคนโดยธรรมชาติการนอนหลับน้อยกว่าคนอื่นๆ และต้องเลิกคิดว่าทุกคนต้องการนอนหลับ 8 ชั่วโมงเท่านั้น การรับคำปรึกษาสามารถช่วยได้เมื่อเป็นโรคนอนไม่หลับที่เกิดจากสุขลักษณะการนอนที่ผิด
เลือกกินบ้าง......อะไรบ้าง จะได้ไม่เป็นหมูขาอวบบ นะจ๊ะ
เลือกกินบ้าง......อะไรบ้าง จะได้ไม่เป็นหมูขาอวบบ นะจ๊ะ
27/2/2012    view time : 932
สาวคนไหนที่กำลังมองหาวิธีลดความอ้วนอยู่หล่ะก็วันนี้เรามีวิธีเลือกกินอย่างไร ไม่ให้อ้วนมาฝากกันค่ะ แต่ก็ไม่รู้ว่าทำไม๊...ทำไม สาวๆ ที่อยากจะลดคาวามอ้วนลดน้ำหนักแต่ดันเป็นประเภทที่กินไม่เลือกเลยสักนิด !!!!
ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้


Tag :  nkcbeta betaglucanplus

Save Progress..